วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กฏของเมอร์ฟีย์.....

อ่า…งงอ่ะดิว่าเมอร์ฟี่เป็นใคร
นี่พวกคุณไม่เคยได้ยินเรื่องกฎของนายเมอร์ฟี่เหรอ?
หืม ไม่เคยเหรอ…เอางี้ สำหรับคนไม่เคยรู้ว่าเมอร์ฟี่เป็นใคร ตั้งกฎอะไร... ขอเเนะนำให้รู้จักนิยามของกฎของมันอย่างง่ายๆเลยเเล้วกัน.....

กฏของเมอร์ฟีย์.....
.......มันคือกฎเเห่งความซวยซ้ำซาก.....


กฎที่ว่าเนี่ย พูดไว้ว่าถ้ามีความเป็นไปได้ที่คุณจะถึงคราวซวยเมื่อไหร่ รับรองเลยว่าความซวยเหล่านั้นมันจะพุ่งเข้าหาคุณอย่างสูงสุดเท่าที่มันจะเป็นไปได้
กฎของเมอร์ฟี (อังกฤษ: Murphy's Law) เป็นภาษิตที่มีการกล่าวถึงการอย่างกว้างขวางว่า "สิ่งใดก็ตามหากผิดพลาดได้ มันก็จะผิดพลาด" (Anything that can go wrong, will go wrong)

ภาษิตดังกล่าวยังถูกใช้ในความหมายที่ประชดประชันว่าเหตุการณ์ทั้งหลายมักจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังหรือเกิดการผิดพลาด หรือหากจะเจาะจงกว่านั้น อาจเป็นการสะท้อนแนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่ว่า ภายใต้เวลานานในระดับหนึ่งนั้น เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากยิ่งจะมีโอกาสเกิดขึ้นอย่างแน่นอน (เนื่องจากความน่าจะเป็น มีค่ามากกว่า 0) ถึงแม้ว่า ส่วนใหญ่มักจะใช้กับเหตุการณ์ในแง่ร้ายมากกว่าแง่ดีก็ตาม




มีเหตุการณ์มากมายหลายอย่างในจักรวาลที่มนุษย์เห็นว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุผล ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สนใจมาเป็นเวลายาวนานแล้ว เครื่องแสดงถึงแนวคิดดังกล่าวก่อนหน้ากฎของเมอร์ฟี่นี้สามารถพบได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งในนอร์วอล์ก รัฐโอไฮโอ ในปี ค.ศ. 1841 ได้ตีพิมพ์กลอนบทหนึ่ง ซึ่งเป็นการล้อเลียนกลอนในหนังสือ Lalla-Rookh ของโธมัส มัวร์:

I never had a slice of bread,
Particularly large and wide,
That did not fall upon the floor,
And always on the buttered side.
ผมไม่เคยได้กินขนมปังแผ่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันที่ใหญ่และกว้าง
ซึ่งไม่ได้ตกลงบนพื้น
และหันเอาด้านทาเนยลงเสมอ





credit:2pmtime.exteen.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น